วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเทศลาว

ประเทศลาว


ประเทศลาว หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(ลาว: ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ; อังกฤษ: Lao People's Democratic Republic) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก และนอกจากนี้ ลาวเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะ วัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ไทย กับลาว มีสัมพันธ์ไมตรีตลอดเวลา เสมือนบ้านพี่ เมืองน้อง


ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้ 3 เขต คือ
  1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
  2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
  3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและ แม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิอากาศ

ลาว มีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน  มี  2  ฤดู  คือ   ฤดูร้อน (พฤศจิกายน เมษายน)  กับ  ฤดูฝน (พฤษภาคม ตุลาคม)  อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์  ในปี  2549  สูงสุด  31.7  องศาเซลเซียส  ต่ำสุด  22.5  องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,930.3  มิลลิเมตรต่อปี
  
เมืองหลวงและแขวงสำคัญ

นครหลวงเวียงจันทน์  เป็น นครหลวงของประเทศ  และเป็นเขตการปกครองพิเศษ  เรียกว่านครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมเรียกว่ากำแพงนครเวียงจันทน์)  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคาย  มีประชากรประมาณ  711,919  คน (ปี 2549)  ซึ่งสมัยอาณาจักรล้านช้าง  เวียงจันทน์มีชื่อว่า จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคณหุต”  โดยพระไชยเชษฐาธิราชสถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง  ในราว พ.ศ. 2107
แขวงสะหวันนะเขต   เป็นแขวง (จังหวัด)ที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ  อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร  ประชากรประมาณ  842,340  คน
แขวงจำปาสัก   เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสาม  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี   ประชากรประมาณ  616,642  คน (ปี 2549)
แขวงหลวงพระบาง  เป็น แขวง (จังหวัด) ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่  อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว  มีประชากรประมาณ  415,218  คน  ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกในปี 2541  จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) ซึ่งทำให้เมืองหลวงพระบางเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลก  เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน  เช่น  วัดเก่าแก่ที่สำคัญ   พระราชวังเจ้ามหาชีวิต  และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  รวมทั้งธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมที่งดงาม  ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงไว้  ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

การเมืองการปกครอง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) 

ด้านภาษา

ภาษาทางการ   ภาษาลาว
ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ  ภาษาไท   ภาษาม้ง

ด้านศาสนา

รัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา  โดยประชากรลาวร้อยละ  75  นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 16-17 นับถือผี  ที่เหลือเป็นคริสต์ (ประมาณ  1  แสนคน)  และมุสลิม (ประมาณ  300  คน)

ด้านวัฒนธรรม 

มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
1. ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและความมั่นคง 
- ด้านการเมือง รัฐบาลไทยและ สปป.ลาว มีความร่วมมือใกล้ชิดทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ และการสนับสนุนกันในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ
- ด้านการทหาร 
กองทัพไทย-ลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น มีความร่วมมือทางวิชาการทหารและแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงทำให้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย-ลาวส่วนใหญ่มีความสงบเรียบร้อย

2.ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
 
- ด้านการค้า  สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญ  ที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาด สปป. ลาว
ได้แก่  น้ำมันสำเร็จรูปรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ผ้าผืนเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกลเคมีภัณฑ์ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบปูนซิเมนต์เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิวน้ำตาลทรายเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์พลาสติกเตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนผลิตภัณฑ์เซรามิก  และอื่นๆ   
ส่วน สินค้าที่ไทยนำเข้าจาก สปป. ลาว  ที่สำคัญได้แก่  ได้แก่  สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์,  เชื้อเพลิงอื่น ๆ,  ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์,  พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช,  ธุรกรรมพิเศษ,  เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ,  ถ่านหิน,  ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้,  เสื้อผ้าสำเร็จรูป,  สิ่งพิมพ์,  แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่,  เยื่อกระดาและเศษกระดาษ,  ด้ายและเส้นใย,  สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ กาแฟ ชา เครื่องเทศ
- ด้านการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม เป็น ความร่วมมือที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนไทย-ลาว สามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมที่ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ สปป.ลาว รวมมูลค่าประมาณ 6,681 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างถนน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขง โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ โครงการปรับปรุงสนามบินในแขวงสำคัญต่าง ๆ รวมมูลค่าโครงการที่เสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณ 2,517 ล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โครงการปรับปรุงสนามบินวัดไต นครหลวงเวียงจันทน์ โครงการก่อสร้างเส้นทางถนนเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน (R3) และโครงการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว (หนองคาย-ท่านาแล้ง) มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการรวมมูลค่าประมาณ 4,142 ล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนมคำม่วน) และแห่งที่ 4 (เชียงราย-บ่อแก้ว) โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ (ระยะที่ 1) และโครงการพัฒนาถนนระหว่างห้วยโก๋น (จังหวัดน่าน)ปากแบ่ง (แขวงไชยะบุลี)

3. ความสัมพันธ์ด้านการทูต
 
ไทยกับ สปป.ลาวสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2493 และได้ดำเนินสัมพันธไมตรีมาด้วยความราบรื่น โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2553 


การเดินทางไปยังประเทศลาว

จากกรุงเทพฯ ไปลาว
โดยเครื่องบิน :  


ของสายการบินลาว จากสุวรรณภูมิ ราคาอยู่ที่เที่ยวเดียวอยู่ที่ประมาณ ท่านละ 4,700 บาท / การบินไทยราคา 6,600 บาท ซึ่งแพงทั้งคู่ มีอีกทางเลือกคือนั่งเครื่องบินของแอร์เอเซีย จากกรุงเทพฯ ไปลงที่อุดรธานี ราคาประมาณ 1,300 บาท จากนั้นต่อรถจากอุดรธานีเข้าสู่เวียงจันทน์อีกที เครื่องแอร์เอเซียจะไปถึงอุดรประมาณ 17.30 น. ซึ่งอาจข้ามข้ามแดนทัน โดยนั่งรถตู้จากสนามบินไปขนส่งและต่อรถไปเวียงจันทน์

จากอุดรใช้สายการบินลาวไปหลวงพระบาง การบินลาว เปิดเที่ยวบินอุดรธานี-หลวงพระบาง ให้บริการวันศุกร์และวันอาทิตย์ ราคาเริ่มต้น 31,00 บาท (เที่ยวเดียว) ไป-กลับ 6,000 บาท (ราคารวมภาษี) สอบถามข้อมูลได้ที่ ลาวแอร์ไลน์ ท่าอากาศยาน
หลวงพระบาง-อุดรธานี เที่ยวบิน
Qv
621 ออก 10.45 น.ถึง 11.30 น.
อุดรธานี-หลวงพระบาง เที่ยวบิน
Qv622 ออก 12.30 น.ถึง 13.15 น.

โดยรถยนต์ :
- จะไปเวียงจันทน์ นั่งรถทัวร์ซึ่งมีให้เลือกหลายบริษัท ไปลงที่ อุดร หนองคาย หรือขอนแก่น แล้วต่อรถไปยังเวียงจันทน์
- จะไปสะหวันนะเขต ขึ้นรถทัวร์ไปลงที่มุกดาหาร แล้วต่อรถจากมุกดาหารไปลงสะหวันนะเขต
- ไปปากเซ ขึ้นรถไปลงอุบลราชธานี แล้วต่อรถไปลงปากเซ
โดยรถโดยสารปรับอากาศ จาก สถานนีขนส่งหมอชิต 
บริษัท ขนส่งจำกัด
บริษัท เชิดชัย ทัวร์
บริษัท บารมี ทัวร์
บริษัท 407 พัฒนา
บริษัท รุ่งประเสิรฐทัวร์ 24 ที่นั่ง

โดยเรือ:


จากห้วยทรายตรงข้ามเชียงของจังหวัดเชียงรายยังสามารถเดินทางโดยทางเรือไปยังหลวงพระบางได้ และยังเป็นเส้นทางหลักยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวแบกแพคจากทั่วโลก เรือจะมีสองประเภท คือเรือช้าและเรือเร็ว เรือช้าค่าบริการเรือช้าอยู่ที่ 20$ ต่อท่าน ใช้เวลาในการเดินทาง 2 วัน 1 คืน โดยเรือจะไปพักที่ปากแบ่ง 1 คืน
     ในการเดินทางข้ามแดนจากจังหวัด อุดรราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา หนองคาย ไปยังกำแพงนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถใช้หลักฐานคือ หนังสือเดินทาง หนังสือผ่านแดน หรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราวที่ออกให้ ณ ศาลากลางจังหวัดหนองคาย การขอออกหนังสือผ่านแดน จังหวัดหนองคายเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ ศาลากลางจังหวัด เวลา 07.00 น.-17.00 น.

การเดินทางในประเทศลาว
 
ทางบก
การคมนาคมเป็นปัญหาสำคัญของลาว  เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา  และลาวยังไม่มีรถไฟใช้  ถนนหนทางมีสภาพค่อนข้างแย่  ที่ราดยางแล้วมีไม่ถึง  1 ใน ของทั้งประเทศ  รัฐบาล พยายามพัฒนาปรับปรุงโดยได้รับเงินสนับสนุนจากต่างชาติและองค์กรความช่วย เหลือนานาชาติ  อาทิ  ทางหลวงหมายเลข 13  ถนนสายหลักของลาวที่ฝรั่งเศสสร้างไว้สมัยอาณานิคม  กลายเป็นราดยางอย่างดีตั้งแต่หลวงพระบางไปจนถึงสะหวันนะเขต  ระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร  มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดา(พัดลม) วิ่งบริการโดยตลอด  สถานีรถโดยสารมีศูนย์กลางอยู่ที่นครเวียงจันทน์  โดยค่าโดยสารของชาวต่างชาติจะมีราคาสูงกว่าคนลาวประมาณ 1 เท่า 



ทางน้ำ
แม่น้ำเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญที่สุดของลาว คือ ใช้ติดต่อถึงกันทั่วประเทศ   โดยเฉพาะแม่น้ำโขง  มีเรือเร็วซึ่งลาวเรียกว่า เฮือไว  บริการจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่ท่าเรือตามหัวเมืองสำคัญ  เริ่มตั้งแต่ห้วยทราย  ลงมาหลวงพระบาง  ท่านาแล้ง  เวียงจันทน์  สะหวันนะเขต  ปากเซ  จนถึงจำปาสัก  เป็นเรือหางยาวนั่งได้ 6 ท่าน(มีเสื้อชูชีพบริการ)   นอกจากนี้มีบริการเรือข้ามฟากบริการในบางช่วง  เรือเช่าเหมาลำ  และเรือบริการนำชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เข่น วัด  ถ้ำ  และเรือสำราญล่องแม่น้ำโขงซึ่งเป็นของบริษัทต่างชาติ

 
ทางอากาศ
ลาวมีสนามบินภายในประเทศของสายการบินลาว   จากเมืองเวียงจันทนท์ไปห้วยซาย  หลวงพระบาง  หลวงน้ำทา อุดมไซ(เมืองไชย)  ปากเซ  พงสาลี  เชียงขวาง  ไซสมบูน  เวียงจันทน์ ไชยะบุลี  สะหวันนะเขต เมืองสิงห์ และซำเหนือ  เวลาออกที่แน่นอนจะทราบล่วงหน้าเพียง 1 วัน  หากผู้โดยสารน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายก็อาจจะยกเลิกไม่ทำการบิน  ค่าโดยสารสำหรับชาวต่างชาติจะสูงกว่าคนลาวประมาณ 2 เท่า



 

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศลาว 

 


     พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี  ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นครเวียงจันทน์ ประเทศลาวนับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่าง แยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็น ภาพประธานในดวงตรา

ตราแผ่นดินของลาว






     วัดเชียงทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ริมน้ำโขงคั่นอยู่ ตัวอย่างสถาปัตยกรรมล้านช้าง ณ เมืองพระบางหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ และในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักษ์รักษาที่ดีที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




      ประตูชัย ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึก ถึงประชาชนชาวลาว ผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฎิวัติของพรรคคอมมิวนิตย์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซิเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำ มาสร้างสนามบินใหม่ใน นครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันสร้างเพราะอเมริกาพ่ายเวียดนามเสียก่อน จึงนำปูนเหล่านั้นมากสร้างประตูชัยแทน ตามลักษณะประคูชัยที่กรุงปารีส ประเทศ ฝรั่งเศส แต่ลักษณะสถาปัตยกรรม ก็ยังคงเป็นลักษณะของลาว



สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวเพ็ญนภา   จุกแก้ว        523105030001
2.นางสาวมาริษา      แก้วบำรุง     523105030015    
3.นางสาวนัยนา        สุภาพ         523105030017
4.นางสาวสุวเนตร์     นะประสม     523105030025
5.นางสาววีรภา        กวีชัยสมบุญ 523105030043

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การขนส่ง ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย...เสน่ห์แห่งเอเชีย


คำขวัญ: Bersekutu Bertambah Mutu
("ความเป็นเอกภาพคือพลัง")
                               
                      ธงชาติ                                               ตราแผ่นดิน
                                   เพลงชาติเนอการากู
                                 เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์
                                  นายกรัฐมนตรี    นาจิบ ราซัค



ประเทศมาเลเซีย (อังกฤษ: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
คำว่ามาเลเซียเคยถูใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน
ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย
ภูมิประเทศ
         มาเลเซียตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ มาเลเซียตะวันตกมาเลเซีย ตะวันออก อยู่ห่างกันประมาณ 400 ไมล์โดยมีทะเลจีนใต้ขวางกั้นมาเลเซียเดิมเป็นดินแดนที่มีการปกครองต่างหากจากกัน ได้มารวมเป็นประเทศเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2506 มาเลเซีย   มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 130,000 ตารางไมล์ มาเลเซีย   ตะวันตก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูหรือมลายา ติดชายแดนทางใต้ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 50,800 ตารางไมล์ มาเลเซีย   ประกอบด้วยรัฐต่างๆ 11 รัฐ ตอนกลางเป็นที่ราบสูง มีภูเขาใหญ่หลายเทือกปกคลุมด้วยป่าทึบบริเวณกว้างขวาง แถบริมฝั่งทะเลทั้ง 2 ข้างเป็นที่ราบดินอุดมสมบูรณ์ ชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นหาดเลนยาวพื้นที่มีหล่มบึงมาก ส่วนด้านตะวันออกของ
มาเลเซียเป็นหาดทรายยาวเหยียด ไม่เหมาะแก่การเป็นท่าเรือ มาเลเซียตะวันออก ได้แก่ ดินแดนทางภาคเหนือของเกาะบอร์เนียว มีเนื้อที่ประมาณ 70,200 ตารางไมล์ ประกอบด้วยรัฐ 2 รัฐคือซาราวัก และซาบาห์ (บอร์เนียวเหนือ) พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูง ประกอบด้วยป่าทึบและภูเขาสูงใหญ่ บางยอดเขาสูงเกินกว่าหมื่นฟุตมีที่ราบขนาดย่อมอยู่ตามริมฝั่งทะเล แม่น้ำมักเป็นสายสั้นๆ และไหลเชี่ยวผ่านหุบเขาที่แคบและลาดชันไปออกทะเลทางทิศตะวันตก
ลักษณะภูมิอากาศประเทศมาเลเซีย
มาเลเซียตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วงอุณหภูมิที่สูงสุดอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ช่วงที่มีความแห้งแล้งที่สุด อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน
เมืองหลวงของมาเลเซีย  ชื่อ กรุงกัวลาลัมเปอร์
เมืองศูนย์กลางธุรกิจของมาเลเซีย   อิโปห์ มาลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์
เมืองท่าของมาเลเซีย  คือ Port Klang และปีนัง
ลักษณะการปกครองของมาเลเซีย คือ ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข
จำนวนประชากรประเทศมาเลเซีย   ประมาณ 23.8 ล้านคน
พื้นที่ประเทศมาเลเซีย 
คือ 330,434 ตารางกิโลเมตร
เชื้อชาติประเทศมาเลเซีย  พลเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายู (58%) นอกนั้นเป็นชาวจีน (26%) ชาวอินเดีย(7%) ชาวเขาเผ่าต่างๆ (9%) เลือดผสมมลายูกับโปรตุเกส มลายูกับฮอลันดา มลายูกับอังกฤษ
ศาสนา   ส่วนใหญ่ชาวมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม(58%) พุทธ (30%) ฮินดู (8%) คริสต์เตียน เต๋า และศาสนา ประจำเผ่าของชนเผ่าส่วนน้อยในประเทศ เช่น ศาสนาของกลุ่มชาวเงาะป่าซาไก เป็นต้น
ภาษาที่ใช้ในมาเลเซีย  คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่า
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย   ดอกชบา
เขตเวลา GMT / UTC+8
กรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย ตั้งยู่ในเมืองเซลังงอร์ ใกล้ชายฝั่งตะวันตกของบริเวณแหลมมลายู บริเวณกรุงกัวลาลัมเปอร์และบริเวณรอบนอกมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์นี้ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยไปลงจอดที่นามบิน KLIA ซึ่งเป็น สนามบินที่มีความทันสมัย สะดวกสบายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
 การเมือง
ปัจจุบันมาเลเซียประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มาเลเซียมีรูปแบบการปกครองคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี
การแบ่งเขตการปกครอง
มาเลเซีย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง ได้แก่
รัฐมาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมาเลย์)
กลันตัน (โกตาบารู)
เกดะห์ (ไทรบุรี) (อลอร์สตาร์)
ตรังกานู (กัวลาตรังกานู)
เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน)
ปะหัง (กวนตัน)
ปะลิส (กังการ์)
ปีนัง (จอร์จทาวน์)
เประ (อีโปห์)
มะละกา (มะละกา)
ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู)
สลังงอร์ (ชาห์อาลัม)
มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)
ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)
ซาราวัก (กูจิง)
        ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันดิบ ก๊าสธรรมชาติ ดีบุก ไม้ ทองแดง เหล็ก บ็อกไซด์
ผลผลิตทางการเกษตร ยางพารา นำมันปาล์ม โกโก้ ข้าว พริกไทย สับปะรดอุตสาหกรรมหลัก เครื่องไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิกส์ สิ่งทอ ยางพารา รถยนต์ น้ำมัน ไม้
เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียเกษตรกรรม มาเลเซียเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
สินค้าเข้าที่สำคัญ  ไม้แปรรูป เครื่องยนต์และอุปกรณ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้
ไฟฟ้า สัตว์น้ำมีชีวิต ผัก ส่วนประกอบโครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้าในการผลิต
และส่วนประกอบ ไม้หมอนหนุนรางรถไฟ ดอกไม้สด อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์   ผลิตภัณฑ์พลาสติก หนังดิบและหนังฟอก
สินค้าออกที่สำคัญ  นำมันปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางพาราไม้แปรรูป สิ่งทอ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ นำมันปาล์ม สัตว์น้ำมีชีวิต อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป  ผักสดผลไม้ ปลาป่น รถยนต์ ขนสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สายเคเบิ้ล อิฐ
เงินสกุลมาเลเซีย
มาเลเซีย ใช้เงินสกุล ริงกิต ชื่ออักษรย่อว่า RM (MYR) เงินที่ใช้จ่ายในมาเลเซียมีทั้งเหรียญ และธนบัตร อัตราแลกเปลี่ยน จะขึ้นๆลงๆอยู่ประมาณที่ 10-12 บาท ต่อ 1 ริงกิต (เดือน มค. 45)เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียเกษตรกรรม มาเลเซียเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน

วัฒนธรรม
มาเลเซีย มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรชาวมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"

 การแต่งกาย  
นักท่องเที่ยวต้องแต่งกายให้เหมาะสม หากจะเข้าชมมัสยิดหรือวัด สำหรับสตรีควรแต่งกายสุภาพ กระโปรงยาวคลุมเข่า ห้ามใส่เสื้อทีเชิ้ต เสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ และรองเท้าโปร่ง ผู้เยือนชาย ควรใส่เสื้อมีปก และกางเกงขายาว ผู้เยือนหญิง ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่เปิดมาก 








แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของมาเลเซีย

ตึกเปโตรนาส,มาเลเซีย

                       
ตึกเปโตรนาส,มาเลเซีย
ตึกเปโตรนาส (Petronas Twin Tower) เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 452 เมตร มีชั้นทั้งหมด 88 ชั้น โดยทางการใช้งบประมาณการก่อสร้างตึกเปโตรนาสทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของตึกเปโตรนาสเป็นเจ้าของผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อเปโตรนาส ชื่อเดียวกับตึกนั่นเอง การออกแบบตึกได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของเสาหินทั้ง 5 ของอิสลาม นอกจากความสวยงามและความสูงของตึกเปโตรนาส ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงแล้ว ภายในตึกเปโตรนาสยังเป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปะวัฒนธรรม ดนตรี บันเทิงและแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่อีกด้วย ขณะที่ ชั้น 4 ของตึกแห่งนี้ เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง เรียกว่า เปโตรซายน์ส (Petrosains) ที่นี่คุณจะได้ชมธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยจำลองเป็นป่า โดยการใช้ภาพสไลด์มัลติวิชั่นฉายประกอบ นอกจากนี้ คุณยังได้ย้อนกลับไปสู่โลกยุคเมื่อ200 ล้านปี ได้เห็นดินแดนไดโนเสาร์ และได้ดูการค้นพบน้ำมันด้วย
  
จัตุรัสเมอร์เดก้า  ,มาเลเซีย
จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นธงชาติประจำชาติมาเลเซีย ที่ได้รับการชักขึ้นสู่ยอดเสา เมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 3สิงหาคม ค.ศ. 1957 เมื่อได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ส่วนฝั่งตรงข้ามกับจัตุรัสฯ เป็นอาคารสุลต่านอับดุล ซาหมัด   ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซียไปแล้ว   อาคารแห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบมูริส อินเดียผสมผสานกับศิลปะแบบอาหรับ ความสูงของยอดโดมมีขนาดเท่ากับ 40 เมตร และหอนาฬิกาที่ตั้งตระหง่านอวดความสวยงามของตัวตึกและในเวลากลางคืน จะมีการติดไฟระยิบระยับเต็มไปหมด ยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับอาคารแห่งนี้


คาเมร่อนไฮแลนด์,มาเลเซีย


       คาเมร่อนไฮแลนด์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของมาเลเซีย ซึ่งมีความสูงถึง 4,500 ฟุต จึงทำให้อากาศที่นี่หนาวตลอดทั้งปี โรงแรม ที่พัก ที่นี่จะไม่มีแอร์ให้ แต่จะให้เราเปิดหน้าต่างเพื่อรับลมหนาวจากด้านนอกของตัวโรงแรม
       เพราะว่าอุณหภูมิช่วงที่ร้อนสุดอยู่ที่ 25 องศา และ อากาศโดยปกติทั่วไปก็จะอยู่ที่ประมาณ 12 องศา จากระดับความสูงของยอดดอยแห่งนี้ ได้มีการแบ่งความสูงและชุมชนเมืองออกเป็น 3 ระดับชั้นหลักๆ ดังนี้
ชั้นที่ 1 คือ ริงเล็ต
ชั้นที่ 2 คือ ทานาราตะ
ชั้นที่ 3 คือ บริงชาง
          เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี ทำให้อาหารหลักของคนที่นี่จะต้องเป็นอาหารประเภทหม้อไฟร้อนๆ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย คนที่นี่ชอบทานสุกี้หม้อไฟกันมากๆ เราสามารถหาทานได้ที่ตัวเมือง ซึ่งขับลงมาจากยอดดอยประมาณ 15 นาที ยอดดอย คาเมร่อนไฮแลนด์ มีไร่ชาที่ใหญ่มากๆ มองไปได้ไกลสุดลูกลูกตา นอกจากนั้นการชิมชาก็ถือเป็นสิ่งที่คนที่นี่นิยมทำกันเป็นอย่างมาก สำหรับใครที่ชอบสตรอเบอร์รี่ ที่นี่เค้ามีไร่สตรอเบอร์รี่ ที่มีลูกสตรอเบอร์รี่ลูกโตๆ แดงแป๊ด ให้เราได้ลิ้มลองรสชาติกันอีกด้วยหู
                                 อนุเสาวรีย์แห่งชาติ(National Monument)
        อนุเสาวรีย์แห่งชาติ(National Monument) ซึ่งจัดว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการสร้างแบบลอยตัว โดยการหลอมรูปปั้นด้วยบรอนซ์ จากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่กว่าคนจริงหลายเท่า ที่มาของอนุสาวรีย์ มาจากในช่วงสมัยหนึ่งเกิดกลุ่มจีนคอมมิวนิสต์
กระจัดกระจายทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี ในการปราบโจรและเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้กล้าหาญ ที่ได้เสียชีวิตในการปราบโจรคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1993อดีตนายกฯ ตนกู อับดุลราห์มาน จึงได้สั่งให้สร้างขึ้น
อนุสาวรีย์แห่งชาติ
ปุตราจาย(Putrajaya)
ปุตราจายอยู่ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 นาที ห่างจาก   สนามบินนานาชาติไปไม่ไกลนัก บนพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลครอบคลุมพื้นที่เข้าทั้งลูก  ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองใหม่ เป็นที่อยู่ของหน่วยราชการ ทุกกกระทรวง ทบวง กรมรวมทั้งรัฐสภา และบ้านของนายกฯ โดยรอบปุตราจายาจะเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรที่สวยงามและคอนโดมีเนียมที่เป็นตึกสูง แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งที่พักเหล่านี้สร้างเพื่อขายให้กับผู้ที่ต้องการมาอยู่ที่นี่ และให้กับข้าราชการแลเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีเมืองสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อเป็นเมืองแห่งอนาคต ชื่อเมืองไซเบอร์จายา ที่มีความก้าวล้ำนำสมัย ในด้านคอมพิวเตอร์รวมถึงมีการสร้างSmart People Smart Town และ Smart University โดยทั้งหมดเรียกว่า อาณาจักรMulti Media Super Corridor หรือ MSC คาดว่าการก่อสร้างดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในปี  2020

                             


สวนทะเลสาบ  (Lake Garden)
สวนทะเลสาบ  (Lake Garden) ตั้งอยู่นอกเมืองไปประมาณ 40 นาที   สวนแห่งนี้เป็นสวนสาธารณะที่ทางรัฐบาล ได้สร้างให้แก่ชาวกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ถึง 916,000 ตารางเมตร ในสวนแห่งนี้ คุณจะได้สัมผัสกับสวนปฏิมากรรมจากภูมิภาคเอเชีย หรือที่เรียกว่าสวนอาเซี่ยน ซึ่งประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซี่ยนได้สร้างให้เพื่อเป็นของขวัญแก่ประเทศมาเลเซียและมีสวนแบบไทยด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งสวนกล้วยไม้ ที่มีกว่า 800 ชนิด สวนกวาง ... สวนผีเสื้อหลากพันธ์...สวนนกที่เป็นแหล่งรวมนกที่มีมากถึง 5,000 ตัว รวมทั้งนกจากหลายๆ ประเทศ และไก่ฟ้าพญาลอที่หาชมยาก ในสวนทะเลสาบแห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ
ผู้ที่ไปมาเลเซียมาแล้ว มักจะพูดว่า ถ้าไม่มีเก็นติ้งไฮแลนด์ นั่งกระเช้าลอยฟ้า ขึ้นไปเล่นกาสิโนบนยอดเขาแล้ว มาเลเซีย ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจมาปีนี้มาเลเซียพลิกโฉมสร้างจุดขายใหม่ดึงนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชายหาด ดำน้ำ ชมธรรมชาติ ช็อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมลดราคา
     มาเลเซียกำหนดให้ปีนี้เป็นปีท่องเที่ยวมาเลเซีย 2007รัฐบาลทุ่มลงทุนมหาศาล เพื่อสร้างเมืองที่ทันสมัยให้เป็น จุดขายพร้อมกับส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ชายหาด เกาะแก่งที่สวยงาม การเที่ยวแบบผจญภัย และการดำน้ำทะเลลึก
     เพื่อรองรับปีท่องเที่ยวที่จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 50 ปี ที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
     ตลอดระยะเวลา 41 ปี จุดเด่นของการท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะไปมาเลเซีย อยู่ที่เมืองตากอากาศเก็นติ้งไฮแลนด์ สถานกาสิโนระดับชาติที่อยู่บนยอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 6,000 ฟิต มีเครื่องเล่นเสี่ยงโชคต่างๆ และพบกับความตื่นเต้นในการนั่งกระเช้าลอยฟ้าระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ไปหรือกลับเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเสี่ยงโชค
     แม้วงการท่องเที่ยวจะมีการประเมินว่า การท่องเที่ยวเส้นทางจีนแผ่นดินใหญ่จะเป็นเส้นทางที่เติบโตที่สุดในอนาคต เพราะมีความหลากหลายมาก ค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่าเส้นทางอื่นมากแต่มาเลเซียก็ได้พยายามสร้างจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เช่นกันกับสิงคโปร์ที่ทรัพยากรธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย ไม่หลากหลายจึงต้องกำหนดนโยบาย
ลงทุน สร้างแหล่งท่องเที่ยวด้วยเงินงบประมาณไว้สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว ในหลายรูปแบบ
     สถานที่ท่องเที่ยวในมาเลเซียที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมไปมากที่สุดเห็นจะเป็นการเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ถ่ายรูปกับหอคอยสูงเสียดฟ้า เคแอล ทาวเวอร์ ที่มีความสูงอันดับ 4 ของโลก และยังมีตึกแฝดทวิน ทาวเวอร์ ที่สูงที่สุดในโลก 451 เมตร และอนุสาวรีย์ทหารอาสา
     มาเลเซียพยายามส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ด้วยการนำชมเมืองหลวงใหม่ปุตราจายาเมืองราชการที่ตั้งที่ทำการของรัฐบาลและกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ที่ตั้งรัฐสภา ที่ทำการนายกรัฐมนตรี มัสยิดสีชมพูสวยงามและยิ่งใหญ่
     พร้อมๆ กับการสร้างเทศกาลในแหล่งเที่ยวช็อปปิ้ง มีการลดราคาสินค้าแบรนด์เนม แบบลดกระหน่ำในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี 2020


การเดินทาง
         การเดินทางไปเที่ยวมาเลเซียนั้น ไปได้ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางรถไฟ ไม่ต้องขอวีซ่ามีพาสปอร์ตก็ไปได้เลย อยู่ได้ 30 วันคนที่ไม่ใช่ชาวมาเลเซีย จะต้องแสดงหนังสือเดินทางตอนเข้าประตู    ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยและหนังสือเดินทางมาเลเซียสามารถเดินทางระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย เพื่อการท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอรับตรวจลงตรา และสามารถพำนักอยู่ในประเทศได้เป็นเวลา 30 วัน การเข้าเมือง การเดินทางเข้ามาเลเซีย สำหรับคนไทยไม่ต้องมีวีซ่าแต่ต้องมีหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุหรือใช้เอกสารผ่านแดน (Border Pass) สำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล) ผู้เข้าเมืองทุกคนต้องกรอกแบบฟอร์มการเดินทางเข้าเมือง (Disembaskation Form) และแบบฟอร์มแจ้งการถือครองเงิน (Travellers Declaration From – TDF) ซึ่งต้องกรอกทั้งขาเข้าและขาออกจากมาเลเซีย การถือครองเงิน นักเดินทางนำเข้าหรือนำออกเงินริงกิตจากมาเลเซียได้ไม่เกินคนละ 1,000 ริงกิต ส่วนการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเลเซีย สามารถทำได้ไม่จำกัดจำนวน การนำเงินตราต่างประเทศออก นอกมาเลเซียโดยพลเมืองมาเลเซียเอง ทำได้ครั้งละไม่เกินมูลค่าเทียบเท่า 10,000 ริงกิต ส่วนผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองมาเลเซีย อนุญาตให้นำออกได้เท่ากับจำนวนที่นำเข้ามา  เงินตรา สกุลริงกิต 1 ริงกิต ประมาณ 11 บาทไทย (สิงหาคม 2550
    การตรวจลงตรา นักเดินทางที่ถือสัญชาติของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และจะพำนักในมาเลเซียได้ไม่เกิน 1 เดือน โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา หากต้องการพำนักเกิน 1 เดือน ต้องขอรับการตรวจลงตราก่อนเดินทางเข้ามาเลเซีย ยกเว้นบุคคลสัญชาติ
การเดินทาง   เข้ารัฐกลันตันสามารถขับรถยนต์เข้าทางด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ได้ในช่วงเวลา 05.00-21.00 น. หรือทางด่านตากใบ ตั้งแต่เวลา 05.00-18.00 น. ทั้งนี้ยานพาหนะที่ขับเข้ามาเลเซียต้องมีประกัน พ.ร.บ. บุคคลที่ 3

การเดินทางเข้ามาเลเซีย
การเดินทาง: การเดินทางเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถเลือกเดินทางได้หลายแบบ คือ
การเดินทางโดยเครื่องบิน: มาเลเซียเป็นประเทศที่มีสนามบินนานาชาติอยู่ถึง 5 แห่งด้วยกันค่ะ คือ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง ลังกาวี โกตาคินาบาลู และ กูชิง ส่วนสนามบินภายในประเทศ มีอยู่ 14 แห่ง ทั่วประเทศ

       การเดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศ: การเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่เมืองหาดใหญ่ด้วยรถโดยสารปรับอากาศ แล้วเดินทางต่อเข้าไปยังมาเลเซียด้วยรถตู้ปรับอากาศ หรือ รถโดยสารปรับอากาศ วิธีนี้ถือเป็นวิธีการเดินทางที่สะดวกมากและยังประหยัด

นอกจากนี้ ท่านยังสามารถเดินทางไปมาเลเซียได้โดยการโดยสารรถไฟ หรือ อาจขับรถยนต์ส่วนตัวไปก็ได้ค่ะ แต่เราไม่แนะนำวิธีการขับรถเข้าไปมาเลเซียเอง  เพราะการดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง  ส่วนการเดินทางระหว่างเมืองต่างๆภายในประเทศมาเลเซียนั้นนับว่าสะดวกมาก การเดินทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศจาก กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองต่างๆในประเทศ จัดว่าสะดวก และ ประหยัดที่สุด ทั้งยังเป็นวิธีการเดินทางที่คนมาเลย์นิยมมากที่สุดอีกด้วย    ถ้าเรียกแท็กซี่ต้องต่อรอง ให้เรียกแท็กซี่มิเตอร์เท่านั้น ถ้าอยู่ในเมือง ถ้าไปนอกเมือง ราคาจะสูงมาก
   ข้อแนะนำอย่าเผลอไปถ่มน้ำลายหรือทำสกปรกทิ้งก้นบุหรี่ที่เมืองนี้ เพราะมีการระเบียบและเรื่องกฎหมายนั้นเคร่งครัดมาก
ข้อควรระวังที่สุด ผู้ที่มียาเสพติดหรืออาวุธไว้ในครอบครอง   มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว ไม่มีการลดหย่อน