วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฏีจริยธรรมของ โคลเบอร์ก ( Kohlberg )

ทฤษฏีจริยธรรมของ โคลเบอร์ก ( Kohlberg )
เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1950 – 1960 เป็นต้นมา
ทฤษฏีจริยธรรมของ โคลเบอร์ก ( Kohlberg ) ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของ เพียเจท์ ( Piaget ) ชาวสวิส
·        เหตุผลของบุคคล ในการพิจารณาตัดสินใจว่าการกระทำอย่างไรถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี
พิจารณาจากสามัญสำนักว่าบุคคลทุกคนมีเหตูผลของตนเองในการกระทำสิ่งต่างๆ
·        เหตุผลในการตัดสินใจ มีการพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่
·        เชื่อว่าจริยธรรมเป็นลักษณะของบุคลิกภาพที่เรียกว่า ( Ego  Strength )
·        ปัญญาเป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพซึ่งมีการพัฒนาตามลำดับขั้น
อธิบายว่า การที่จะยอมรับสิ่งต่างๆได้นั้น ก็ต่อเมื่อได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อบุคคลมีความเข้าใจดีที่แท้จริงแล้ว จึงเป็นหลักสำคัญของการเกิดจริยธรรม
ระดับขั้นพัฒนาการของการคิดเหตุผลทางจริยธรรม
อธิบายว่า แต่ละบุคคลล้วนแต่ เป็นนักปรัชญาทางจริยธรรมได้ทั้งนั้น
หมายความว่า แต่ละคนจะมีวิธีคิดและวิธีมองปัญหาจริยธรรมให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความรู้เดิมไม่มกก็น้อย เมื่อเติบโตขึ้น
ระดับขั้นพัฒนาการของการคิดเหตุผลทางจริยธรรม แบ่งได้ 3 จำแนกเป็นขั้นย่อยได้ 6 ขั้น
ขั้นที่ 1 ก่อนกฎเกณฑ์
ในระดับนี้เด็กจะปฏิบัติตามวัฒนธรรมและค่านิยมในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เพียงเพราะกฎเกณฑ์เหล่านั้นมีบทลงโทษและรางวัล เพราะผู้สอน อบรมเป็นผู้ใหญ่กว่า มีอำนาจเหนือกว่าเหตุผลทางจริยธรรม อาจแบ่งเป็น 2 ลำดับ คือ
1.               หลักการเคารพเชื่อฟังและหลบหนีการลงโทษ
เด็กจะคิดว่าอะไรถูกอะไรผิดเพียงเพราะบทลงโทษหรือรางวัลของพฤติกรรมนั้นโดยไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมนั้นถูกหรือผิด
2.               หลักแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทน
เด็กยังคงต้องการสิ่งที่ตนต้องการและสนองความต้องการของผู้อื่นในบางโอกาส โดยยังไม่เข้าใจถึงคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม
ขั้นที่ 2 ตามกฎเกณฑ์
ในระดับนี้เด็กดำเนินการตามความคาดหวังของครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลอื่นเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
ในระดับนี้แบ่งได้ 2 ขั้น คือ
3.               หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ
ขั้นนี้จะตัดสินพฤติกรรมต่างๆจากเจตนาของบุคคลที่เห็นว่าการกระทำนั้นจะทำให้ผู้อื่นยอมรับและพอใจ
4.               หลักการทำตามกฎและระเบียบของสังคม
ในขั้นนี้จะมุ่งไปในเรื่องของอำนาจ กฎที่ตายตัวและการรักษาระเบียบของสังคมที่มีอยู่
ขั้นที่ 3 เหนือกฎเกณฑ์
ในระดับนี้ บุคคลจะมีหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึงถึงหลักการที่มีเหตุผล ความสำคัญและประโยชน์ เสมอภาคในสิทธิมนุษย์ชน แบ่งได้ 2 ขั้นตอน
5.               หลักปฏิบัติตามข้อตกลงของสังคม และคำมั่นสัญญา
เป็นการเน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในชั้นนี้สิ่งที่ถูก ผิด  จะขึ้นอยู่กับค่านิยม และความเห็นของแต่ละบุคคล
6.               หลักการยึดจริยธรรมอันเป็นสากล
เป็นหลักสากลของความยุติธรรมของการแลกเปลี่ยน หรือการตอบแทนซึ่งกันและกัน และความเท่าเทียมกันของสิทธิมนุษยชน และการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของบุคคลแต่ละคน
โคลเบอร์ก ได้ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับลักษณะอื่นของมนุษย์ที่สำคัญ คือ

1.               ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมระดับสติปัญญาทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับความสามารถที่จะรอผลได้ที่ดีกว่าในอนาคต เรียกว่า  ลักษณะมุ่งอนาคต
2.               ผู้มีจริยธรรมสูงจะเป็นผู้ที่มีสมาธิดี
3.               พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ได้บรรลุจุดสมบรูณ์ในบุคคลอายุ 16 ปี เป็นส่วนมากแต่มนุษย์ในสภาพปกติจะมีพัฒนาการทางด้านจริยธรรมอีกหลายขั้นต่อจากอายุ 16-25 ปี
4.               การให้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจย่อมแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางจิตใจของบุคคลได้อย่างมีแบบแผน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น